วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สืบค้นเว็บที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษาที่ตนเองยังไม่เข้าใจ

1.http://www.nb2.go.th/~suwanpit/sc/e-leaning/wave/contents.htm

คลื่นกล



เมื่อจับเชือกเส้นหนึ่งให้อยู่ในแนวราบโดยปลายหนึ่งตรึงไว้กับผนัง แล้วจับอีกปลายหนึ่งสบัดขึ้นลงดังรูปด้านซ้ายมือ การที่เราออกแรงสบัดปลายเชือกเป็นการให้พลังงานแก่เส้นเชือก พลังงานจะถูกถ่ายโอนผ่านเส้นเชือกไปยังปลายเชือกด้านที่ติดกับผนัง
การถ่ายโอนพลังงานผ่านเส้นเชือกจะทำให้มีคลื่นเกิดขึ้น ซึ่งมีทิศทางในแนวราบ
แต่อนุภาคของเส้นเชือกจะสั่นขึ้นลงในแนวดิ่งเท่านั้น ไม่ได้เคลื่อนที่ไปตามแนวราบกับคลื่น คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่อย่างนี้ เรียกว่า
คลื่นกล
ตัวอย่างของคลื่นที่พบเสมอในชีวิตประจำวัน เช่น คลื่นเสียง คลื่นน้ำ
คลื่นบนเส้นเชือก



ตัวอย่างของคลื่นบนสปริง ที่เรียกว่าคลื่นกล










ตัวอย่างของคลื่นบนเส้นเชือก
ที่เรียกว่าคลื่นกล




2.http://www.pt.ac.th/ptweb/prajead/wave/basic/basic1/tran.html

คลื่นตามขวางในเส้นเชือก



  • มื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง จะทำให้เกิดคลื่นตามขวางขึ้นในเส้นเชือก โดยคลื่นที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนที่ไปยังอีกปลายด้านหนึ่งของเชือก
  • เมื่อเราสบัดเชือกเร็วขึ้น ความยาวคลื่นในเส้นเชือกก็จะลดลงโดยถือว่าความเร็วของคลื่นในเส้นเชือกด้วยอัตราเร็วคงตัว


  • เมื่อเราสบัดเชือกขึ้นลง ให้เกิดคลื่นดล ผ่านรอยต่อของเส้นเชือก 2 เส้นที่มีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปพบรอยต่อจะเกิด
  • การสะท้อนและหักเห จากรูปคลื่นเคลื่อนที่จากความเร็วมากไปหาความเร็วน้อย โดยคลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา


  • เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกซึ่งปลายด้านหนึ่งตรึงไว้ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา


  • เมื่อเราสบัดเชือกให้เกิดคลื่นดล ในเส้นเชือกปลายอิสระ คลื่นสะท้อนจะมีเฟสคงเดิม

  • 3.http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_4.htm
    ฟังค์ชันคลื่น
    คลื่นมีลักษณะการเคลื่อนที่ของอนุภาคเป็นแบบฮาร์โมนิก ดังนั้นการกระจัดของอนุภาค y จะมีรูปแบบเหมือน
    สมการการเคลื่อนที่ แบบฮาร์โมนิกด้วย ดังนั้นถ้าพิจารณาการเคลื่อนที่ของคลื่น โดยให้เฟสเริ่มต้นเท่ากับศูนย์
    สมการการเคลื่อนที่ของคลื่นหรือเรียกว่า ฟังค์ชันคลื่น ซึ่งก็คือฟังค์ชันที่แสดงตำแหน่งของอนุภาคใดอนุภาคหนึ่งบนคลื่น
    เป็นดังนี้
    =


    โดยที่ A แทนอัมปลิจูดของคลื่น หรือการกระจัดสูงสุดของคลื่น
    แทนความถี่เชิงมุม (angular Frequency) โดยที่ = =
    มีหน่วยเป็นเรเดียนต่อวินาที (rad/s)
    ดังนั้น
    = =

    เมื่อเวลาผ่านไป คลื่นเคลื่อนที่ไปทางขวาด้วยอัตราเร็วเฟส ได้ระยะทาง จะได เขียนฟังค์ชันคลื่นเป็นดังนี้
    =

    =


    4.http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_6.htm
    การซ้อนทับของคลื่น (Superposition)
    ถ้าคลื่น 2 ขบวน เคลื่อนที่มาซ้อนกัน โดยถ้าคลื่นทั้งสองมีเฟสตรงกัน คลื่นรวมจะมีอัมปลิจูดสูงขึ้น
    เรียกการรวมกันของคลื่น แบบนี้ว่าการแทรกสอดแบบเสริมกัน (Constructive Interference)
    แต่ถ้าคลื่นทั้งสองมีเฟสตรงข้ามกัน คลื่นรวมจะมีอัมปลิจูด ลดลงเรียกการรวมกันแบบนี้ว่า
    การแทรกสอดแบบหักล้าง (Destructive Interference) ดังรูป
    รูปที่ 6 ก คลื่น 2 ขบวน เคลื่อนที่มารวมกันแบบเสริมกันและหักล้างกัน

    5.http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_9.htm
    คลื่นนิ่งในเส้นเชือกที่ตรึงปลายทั้ง 2 ข้าง
    ถ้าเชือกยาว L ถูกขึงตรึงที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อเชือกถูกดีดจะทำให้เกิดคลื่นตามขวางขึ้นในเส้นเชือกคลื่นตรงปลายที่ตรึงแน่น ทั้งสองข้างจะเป็นตำแหน่งบัพ (node) โดยระหว่างปลายตรึงจะเกิดกี่บัพก็ได้ ดังรูป

    รูป (a) n = 1 เรียกว่า “ความถี่หลักมูล”
    (fundamentalfrequency) หรือ
    ฮาร์โมนิกที่หนึ่ง
    (first harmonic)

    = L , l = 2L จะได้
    f1=



    รูป (b) n = 2 เรียกว่า
    “โอทอร์โทนที่หนึ่ง”
    (first overtone) หรือ
    ฮาร์โมนิคที่สอง
    (second harmonic) =
    l = L ; จะได้
    f2=


    รูป(c) n = 3 เรียกว่า
    “โอเวอร์โทนที่สอง”
    (second overtone) หรือ ฮาร์โมนิคที่สาม
    (Third harmonic) =
    l = L ; l = L จะได้
    f3=


    6.http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/78/2/sound1/htmls/6.html
    การเกิดบีตส์ (Beat)

    เป็นปรากฎการณ์จากการแทรกสอดของคลื่นเสียง 2 ขบวน

    ที่มีความถี่แตกต่างกันเล็กน้อย

    และเคลื่อนที่อยู่ในแนวเดียวกันเกิดการรวมคลื่นเป็นคลื่นเดียวกัน

    ทำให้แอมพลิจูดเปลี่ยนไป

    เป็นผลทำให้เกิดเสียงดังเสียงค่อยสลับกันไปด้วยความถี่ค่าหนึ่ง

    ความถี่ของบีตส์ หมายถึง เสียงดังเสียงค่อยที่เกิดขึ้นสลับกันในหนึ่งหน่วยเวลา

    เช่น ความถี่ ของบีตส์เท่ากับ 7 รอบ/วินาที

    หมายความว่าใน 1 วินาที จะมีเสียงดัง 7 ครั้ง และเสียงค่อย 7 ครั้ง


    7.http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/78/2/sound1/htmls/5.html

    คุณสมบัติของคลื่นเสียง


    เสียงมีสมบัติของคลื่นครบทั้ง 4 ประการ


    1 การสะท้อนของเสียง คือ เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียง
    ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนกลับมาที่เดิม

    เสียงสะท้อนกลับ คือเสียงที่สะท้อนกลับมาสู่หู
    ช้ากว่าเสียงที่ตะโกนออกไปเกิน วินาทีหูจึงจะสามารถ
    แยกเสียงที่ตะโกนกับเสียงสะท้อนกลับมาได้

    การสะท้อนของคลื่นจะเกิดขึ้นได้ีเมื่อวัตถุหรือสิ่งกีด
    ขวาง มีขนาดโตกว่าความยาวคลื่นที่ตกกระทบ

    2 การหักเหของเสียง

    เสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งผ่านไปยังอีกตัวกลาง
    จะเกิดการหักเหเช่นเดียวกับคลื่นผิวน้ำเช่นเห็นฟ้าแลบ
    โดยไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้องเนื่องจากคลื่นเสียงเคลื่อนที่
    ผ่านอากาศร้อนได้เร็วกว่าอากาศเย็นอัตราเร็วของเสียง
    จึงน้อยกว่าบริเวณใกล้ผิวโลก

    3 การแทรกสอดของเสียง

    เสียงมีคุณสมบัติสามารถ
    แทรกสอดกันได้เมื่อฟังเสียงบริเวณที่มีการแทรกสอด
    กันจะได้ยินเสียงดังค่อยต่างกันซึ่งจะได้ศึกษาต่อไป

    4 การเลี้ยวเบนของเสียง

    เสียงสามารถเคลื่อนที่อ้อมสิ่งกีดขวางไปด้านหลังของ
    สิ่งกีดขวางได้ เช่นเดียวกับ คลื่นผิวน้ำ ซึ่งจะพบเห็นใน
    ชีวิตประจำวันอยู่เสมอ


    8.http://mysoulmate.site40.net/1_8_The-Doppler-Effect.html

    The Doppler Effect

    The Doppler effect can be observed for any type of wave - water wave, sound wave, light wave, etc. We are most familiar with the Doppler effect because of our experiences with sound waves. Perhaps you recall an instance in which a police car or emergency vehicle was traveling towards you on the highway. As the car approached with its siren blasting, the pitch of the siren sound (a measure of the siren's frequency) was high; and then suddenly after the car passed by, the pitch of the siren sound was low. That was the Doppler effect - an apparent shift in frequency for a sound wave produced by a moving source.

    ปรากฏ การณ์ดอปเปลอร์สามารถสังเกตได้จาก คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นเสียง เป็นต้น เช่น เสียงไซเลนของรถพยาบาลเมื่อเข้ามาใกล้เราจะมีความถี่มาก ทำให้เราได้ยินเสียง-แหลม แต่เมื่อเคลื่อนที่ใกล้ออกไปเสียงจะทุ้มลง ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ นี้เกิดขึ้นที่ความถี่ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดเสียง


    9.http://physicsst59.exteen.com/20080815/entry-9




    10. http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/sci/Physnan/sound/html/useful.htm

    ประโยชน์คลื่นเสียง


    เราสามารถนำความรู้เรื่องเสียงมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ด้านสถาปัตยกรรม การประมง การแพทย์ ทางธรณีวิทยา ด้านวิศวกรรม เป็นต้น ซึ่งโดยมากใช้คุณสมบัติการสะท้อนของเสียงเป็นส่วนใหญ่ เช่น





    1. ด้านการแพทย์



    1.1 ใช้คลื่นเหนือเสียงหรือ Ultrasound ตรวจดูอวัยวะภายในร่างกายผู้ป่วย
    ด้วยความถี่ 1-10 เมกะเฮิรตซ์ ความยาวคลื่น 1.5 มิลลิเมตร
    1.2 ใช้ในการรักษาโดยเสียงที่มีความเข้ม 10 ล้านวัตต์/ตารางเมตร มาทำลายเนื้อเยื้อที่ไม่ต้องการ
    1.3 ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ทางแพทย์





    2. ด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรม



    2.1 ใช้คลื่นเหนือเสียงตรวจหารรอยร้าวของเนื้อโลหะหรือแก้ว
    2.2 ใช้คลื่นเหนือเสียงวัดความหนาของโลหะที่ผิวหน้าของอีกด้านหนึ่งเราไม่สามารถเข้า ไปไม่ถึง
    2.3 ใช้คลื่นเสียงทำให้เกิดการเดือดเย็น(Cavitation)
    เป็นปรากฏการณ์ที่คลื่นเหนือเสียงทำให้เกิดโพรงที่ว่างเล็ก ๆ จำนวนมากในของเหลว
    2.4 ใช้คลื่นเหนือเสียงทำความสะอาดผิวโลหะ
    2.5 ใช้คลื่นเหนือเสียงติดต่อสื่อสาร
    2.6 ใช้คลื่นเหนือเสียงเชื่อมเช่น อะลูมิเนียม





    3. ด้านธรณีวิทยา
    ใช้คลื่นดลที่เกิดจากการระเบิด สำรวจน้ำมันปิโตรเลียม หรือชั้นดิน หิน ใต้ผิวโลก





    4. ด้านประมง
    ใช้เครื่อง SONAR ( Sound Navigation and Ranging ) ส่งคลื่นเสียงหาฝูงปลา

    11.http://www.sa.ac.th/winyoo/mechanicswave/wave_geometric/refract/refraction.htm


    การหักเห (Refraction)

    เมื่อคลื่นเดินทางไปพบรอยต่อระหว่างตัวกลางสองชนิดแล้ว คลื่นที่เคลื่อนที่เข้าไปตัวกลางใหม่เรียกว่าคลื่นหักเห

    การสะท้อนและการหักเหเกิดขึ้นพร้อมกันได้


    การหักเหเกิดจากการที่คลื่นมีอัตราเร็วในตัวกลางไม่เท่ากันนั่นคือ เมื่อคลื่นเดินทางจากตัวกลางหนึ่งผ่านรอยต่อเข้าไป

    ในอีกตัวกลางหนึ่งปริมาณของคลื่นที่เปลี่ยนไปคือ อัตราเร็ว ความยาวคลื่น แต่ปริมาณที่มีค่าคงเดิมคือความถี่

    ในกรณีของคลื่นน้ำ อัตราเร็วของคลื่นจะขึ้นอยู่กับความลึก คือ

    เมื่อ v = อัตราเร็วคลื่นผิวน้ำ
    g = ความเร่งโน้มถ่วงของโลก
    d = ความลึกของน้ำ

    จากการทดลอง พบว่าการหักเหเป็นไปตาม "กฎของสเนล" (Snell's Law) คือ

    “ สำหรับตัวกลางคู่หนึ่ง ๆ อัตราส่วนของค่า sine ของมุมในตัวกลางตกกระทบ (ตัวกลางที่ 1 ) ต่อค่า sine ของมุมในตัวกลางหักเห

    ( ตัวกลางที่ 2 ) จะมีค่าคงที่เสม

    จากกฎของสเนล เขียนเป็นสมการได้ว่า

    หรือ

    เมื่อ คือ มุมตกกระทบในตัวกลาง 1
    คือ มุมหักเหในตัวกลาง 2
    คือ อัตราเร็วของคลื่นตกกระทบในตัวกลาง 1
    คือ อัตราเร็วของคลื่นหักเหในตัวกลาง 2
    คือ ความยาวคลื่นตกกระทบในตัวกลาง 1
    คือ ความยาวคลื่นหักเหในตัวกลาง 2

    ในกรณีที่คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีอัตราเร็วต่ำผ่านรอยต่อไปยังตัวกลางที่มีอัตราเร็วสูงทำให้

    มุมตกกระทบมีค่าน้อยกว่ามุมหักเห กรณีนี้อาจทำให้เกิดมุมวิกฤต หรือเกิดการสะท้อนกลับหมดได้

    มุมวิกฤต( ) คือ มุมตกกระทบที่ทำให้มุมหักเหเป็น 90°

    ในการคำนวณมุมวิกฤต เขียนเป็นสมการได้ว่า

    การสะท้อนกลับหมด คือ การหักเหที่มุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต ทำให้คลื่นเคลื่อนที่กลับในตัวกลางเดิม

    และเป็นไปตามกฎการสะท้อน


    12.http://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_sc30/chap06/sc6130_4.html
    การเลี้ยวเบน (diffraction)

    เมื่อมีสิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่ของคลื่นจะมีการสะท้อนกลับบางส่วน และอีdส่วนจะมีการแผ่จาก ขอบของสิ่งกีดขวางอ้อมไปด้านหลัง

    ปรากฏการเคลื่อนที่แบบนี้เรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น

    ใน การเลี้ยวเบนของคลื่น จะมีความยาวคลื่น ความถี่ของคลื่น และอัตราเร็วของคลื่นยังคง เท่าเดิมโดยนักวิทยาศาสตร์ให้หลักการเลี้ยว เบนว่า "แต่ละจุดบนหน้าคลื่น ถือได้ว่าเป็น แหล่งกำเนิดของคลื่นใหม่ ที่ทำให้เกิดคลื่น ซึ่งเคลื่อนที่ออกไปทุกทิศทุกทาง ด้วยอัตรา เร็วเท่ากับอัตราเร็วของคลื่นเดิมนั้น" หลักดังกล่าวคือหลักการของฮอยเกนส์

    ภาพ ลักษณะการเลี้ยวเบนของคลื่นน้ำผ่านสิ่งกีดขวาง


    13.http://physicsst59.exteen.com/20080815/entry-1




    14.http://physicsst59.exteen.com/20080815/entry-14ttp://www.yimwhan.com/board/show.php?user=sudteerak1&topic=10&Cate=10

    สรุปสูตรจากสมบัติโดยทั่วไปของเสียงและคลื่นทั่วไป

    สิ่งที่ต้องการหา

    สูตร

    ความเร็วเสียงในอุณหภูมิต่าง ๆ

    Vt= 331+0.6t

    ความเร็วเสียง

    V = fl

    ความเร็วเสียง

    V = s/t

    สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงดัง

    S1P- S2P = nl

    สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงดัง

    dsinq = nl

    สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงดัง


    สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงค่อย

    S1P- S2P = (n-1/2)l

    สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงค่อย

    dsinq = (n-1/2)l

    สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงค่อย

    = (n-1/2)l

    สิ่งที่ต้องการหา

    สูตร

    ความถี่บีตส์

    fB= f1-f2

    ความเข้มเสียง(I)

    I=W/At = P/A = P/4pR2

    การเปรียบเทียบค่าความเข้มเสียงของ 2 สถานที่ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเดียวกัน


    ระดับความเข้มเสียง(b)


    หาความต่างของระดับความเข้มเสียง

    b1-b2=

    b1-b2 =


    15.http://www.sa.ac.th/winyoo/mechanicswave/wa_resonace.htm


    การสั่นพ้อง (Resonance)


    การสั่นพ้องคือการที่วัตถุสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติโดยแอมปลิจูดของการสั่นมากขึ้นเรื่อยๆ
    ถ้าเป็นคลื่นเสียงก็จะทำให้เสียงดังมากขึ้น จนอาจทำให้วัตถุเสียหายได้ หรือเกิดความรำคาญได้
    การสั่นพ้องเกิดขึ้นได้ 2 แบบคือ

    1. การสั่นพ้องด้วยแรง หมายถึงการสั่นพ้องที่เกิดขึ้นโดยการออกแรงกระทำกับวัตถุเป็นจังหวะที่มีความถี่

    เท่ากับความถี่ธรรมชาติของวัตถุเป็นเวลานาน


    เมื่อลมพัดที่ความเร็วคงตัวค่าหนึ่งเป็นเวลานาน ซึ่งแรงลมพอดีกับความถี่ธรรมชาติของสะพาน

    ทำให้สะพานเกิดการสั่นพ้อง แอมปลิจูดของการสั่นที่มากขึ้นทำให้สะพานขาด

    2. การสั่นพ้องด้วยคลื่น หมายถึงการสั่นพ้องที่เกิดขึ้นโดยการส่งคลื่นที่มีความถี่เท่ากับความถี่ธรรมชาติ

    ของวัตถุกระทบกับวัตถุเป็นเวลานาน

    ความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency)

    เมื่อทำให้วัตถุสั่นหรือแกว่งอย่างอิสระ วัตถุจะสั่นหรือแกว่งด้วยความถี่คงที่ค่าหนึ่ง ซึ่งเรียกความถี่นี้ว่า

    “ความถี่ธรรมชาติ”

    1. ความถี่ธรรมชาติในการแกว่งของลูกตุ้ม

    รูป การแกว่งของลูกตุ้ม


    2. ความถี่ธรรมชาติในการสั่นของมวลติดสปริง



    รูป แสดงการสั่นของมวลติดสปริง


    3. ความถี่ธรรมชาติของการสั่นของเส้นเชือกที่ขึงตึง

    รูป แสดงจำนวนลูปของคลื่นนิ่งในเส้นเชือก ที่ขึงตึง ยาว L จะสามารถเกิดคลื่นนิ่งที่มีตวามยาวคลื่นได้หลายค่า

    หรือเขียน เป็นสมการความสัมพันธ์ ได้ว่า

    เมื่อ n = 1, 2, 3, ….. ความถี่ เรียกว่า ฮาร์มอนิกที่ n

    เนื่องจากอัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือกมีค่าขึ้นอยู่กับความตึงเชือก T และมวลต่อหน่วยความยาว μ

    ดังนั้นจึงเขียนได้ว่า


    4. ความถี่ธรรมชาติของการสั่นของลำอากาศในท่อ

    4.1 ท่อปลายปิดข้างหนึ่ง เมื่ออากาศในท่อสั่นตามยาว โดยอิสระจะเกิดคลื่นนิ่งขึ่นในท่อ

    ปลายปิดจะเป็นตำแหน่งบัพ(ของการกระจัด)

    ปลายเปิดจะเป็นตำแหน่งปฎิบัพ(ของการกระจัด) ดังนั้น ถ้าท่อยาว L

    รูป แสดงจำนวนลูปของคลื่นนิ่งในท่อปิดด้านหนึ่ง ยาว L จะสามารถเกิดคลื่นนิ่งที่มีตวามถี่ได้หลายค่า

    หรือเขียน เป็นสมการความสัมพันธ์ ได้ว่า

    เมื่อ n = 1, 3, 5, ….. ความถี่ เรียกว่า ฮาร์มอนิกที่ n และ v เป็นอัตราเร็วของเสียงในอากาศขณะนั้นซึ่งมีค่าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ คือ

    4.2 ท่อปลายเปิดสองข้าง เมื่ออากาศในท่อสั่นตามยาว โดยอิสระจะเกิดคลื่นนิ่งขึ่นในท่อ ปลายเปิดทั้งสองข้าง

    จะเป็นตำแหน่งปฎิบัพ(ของการกระจัด) ดังนั้น ถ้าท่อยาว L

    รูป แสดงจำนวนลูปของคลื่นนิ่งในท่อปิดสองด้าน ยาว L จะสามารถเกิดคลื่นนิ่งที่มีตวามถี่ได้หลายค่า

    หรือเขียน เป็นสมการความสัมพันธ์ ได้ว่า

    เมื่อ n = 1, 2, 3, ….. ความถี่ เรียกว่า ฮาร์มอนิกที่ n และ v เป็นอัตราเร็วของเสียงในอากาศขณะนั้น

    ซึ่งมีค่าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ คือ

    5. ความถี่ธรรมชาติของวัตถุแผ่นบาง แผ่นวัตถุบางที่อ่อนตัวและถูกขึงให้ตึงหรือตรึงขอบได้ เช่น แผ่นหน้ากลอง

    เมื่อทำให้สั่นจะสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติได้หลายค่า

    การศึกษาเกี่ยวกับความถี่ธรรมชาติของแผ่นวัตถุบางนี้มีประโยชน์มากในการออกแบบไดอะแฟรมของลำโพง

    รูป แสดงการสั่นที่ความถี่ธรรมชาติของแผ่นบางรูปวงกลม

    1 ความคิดเห็น:

    1. สีดูอ่อนไปหน่อย
      ตกแต่งเพิ่มก็น่าจะดี
      รู้ว่างานน่าจะครบ(มั้ง)
      ให้ 95 คะแนน

      ตอบลบ